เมนู

อรรถของอินทรีย์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า สจฺจานิ นี้ได้แก่สัจจญาณ. ธรรม
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถว่า เป็นทางปฏิบัติเพื่อนิพพาน.
อนึ่ง นิพพานท่านกล่าวไว้ในที่สุด พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามรรคเพราะ
สัตบุรุษผู้ถูกสังสารทุกข์ครอบงำ ผู้ต้องการพ้นจากทุกข์แสวงหา.
จบอรรถกถามรรคกถา

มหาวรรค มัณฑเปยยกถา


ว่าด้วยความผ่องใส 3 อย่าง


[530] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่
เฉพาะหน้า เป็นพรหมจรรย์อันผ่องใสควรดื่ม ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่ง
มีอยู่เฉพาะหน้ามี 3 ประการ คือ ความผ่องใสแห่งเทศนา 1 ความผ่องใส
แห่งการรับ ? ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์ 1.
ความผ่องใสแห่งเทศนาเป็นไฉน การบอก การแสดง การบัญญัติ
การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ 4 การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย
ซึ่งสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นความผ่องใสแห่งเทศนา.
ความผ่องใสแห่งการรับเป็นไฉน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้งพวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความผ่องใสแห่ง
การรับ.

ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เป็นความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์.
[531] สัทธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ ความไม่มี
ศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส
แห่งความน้อมใจเชื่อของสัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงเป็นพรหม-
จรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้
ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่ม
ความผ่องใสแห่งความประคองไว้ของวิริยินทรีย์ เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์
จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สตินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความ
ตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว
ดื่มความผ่องใสแห่งความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สตินทรีย์จึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ
ผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น
อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการ
เห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหตุนั้น ปัญญินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ
ผ่องใสควรดื่ม.
สัทธาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหว ในความไม่มี
ศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ

ผ่องใสควรดื่ม วิริยพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความ
เกียจคร้าน ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากเสีย
แล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้านของวิริยพละ
เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สติพละเป็น
ความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความประมาท ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่น
ไหวในความประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงเป็นพรหมจรรย์
มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธิพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวใน
อุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ
ผ่องใสเเห่งความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะของสมาธิพละ เพราะเหตุนั้น
สมาธิพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปัญญาพละเป็นความผ่องใส
แห่งความไม่หวั่นไหวในอวิชชา อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็น
กากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในอวิชชาของปัญญาพละ
เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความตั้งมั่นของ
สติสัมโพชฌงค์เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใส
ควรดื่ม ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น อวิชชา
เป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น
ของธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์จึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการ
ประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกาก

เสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการประคองไว้ ของวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะ
เหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปีติสัม-
โพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคลทิ้ง
ความเร่าร้อนอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่านไป ของ
ปีติสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ
ผ่องใสควรดื่ม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความสงบ ความชั่ว
หยาบเป็นกาก บุคคลทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส
แห่งความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
จึงเป็นพรหมจรรย์ มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใส
แห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว
ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง การไม่พิจารณาหาทางเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาหาทางอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการ
พิจารณาหาทางของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
สัมมาทิฏฐิเป็นความผ่องใสแห่งการเห็น มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาทิฏฐิอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการเห็นของสัมมาทิฏฐิ
เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสัง-
กัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉา-
สังกัปปะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความดำริของสัมมาสังกัปปะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมา-

วาจาเป็นความผ่องใสแห่งการกำหนดมิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวาจา
อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุ
นั้น สัมมาวาจาจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมากัมมันตะเป็น
ความผ่องใสแห่งสมุฏฐาน มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉากัมมันตะอัน
เป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะเหตุ
นั้น สัมมากัมมันตะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาอาชีวะเป็น
ความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาอาชีวะอัน
เป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ เพราะเหตุ
นั้น สัมมาอาชีวะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาวายามะเป็น
ความผ่องใสแห่งการประคองไว้ มิจฉาวายามะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะ
อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการประคองไว้ของสัมมาวายามะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาวายามะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสติเป็น
ความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติอันเป็นกากเสีย
แล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติจึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสมาธิเป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่ม
ความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะเหตุนั้น สัมมาสมาธิ
จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
[532] ความผ่องใสมีอยู่ ธรรมที่ควรดื่มมีอยู่ กากมีอยู่ สัทธินทรีย์
เป็นความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในสัทธินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยินทรีย์เป็น
ความผ่องใสแห่งการประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส

วิมุตติรส ในวิริยินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สตินทรีย์เป็นความผ่องใส
แห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ใน
สตินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสมาธินทรีย์นั้น
เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในปัญญินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม.
สัทธาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัทธา
พละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวใน
ความเกียจคร้าน ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในวิริยินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สติพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่
หวั่นไหวในความประมาท ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในสติพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธิพละเป็นความผ่องใสแห่ง
ความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในสมาธิพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัญญาพละเป็นความผ่องใสแห่งความ
ไม่หวั่นไหวในอวิชชา อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในปัญญาพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม.
สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็น
กาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสติสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้ความเกียจคร้านเป็นกาก

อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปีติ-
สัมโพชฌงค์เป็น ความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในปีติสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัสสัทธิสัมโพช-
ฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความสงบ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง การไม่พิจารณาหาทางเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม.
[533] สัมมาทิฏฐิเป็นความผ่องใสแห่งการเห็น มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมา-
สังกัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาสังกัปปะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาวาจาเป็น
ความผ่องใสแห่งความกำหนด มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใสแห่ง
สมุฏฐาน อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมากัมมันตะนั้น เป็นธรรมที่
ควรดื่ม สัมมาอาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว มิจฉาอาชีวะเป็น
กาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
สัมมาวายามะเป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้ มิจฉาวายามะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาวายามะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น มิจฉาสตินั้นเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาสตินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาสมาธิเป็น

ความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาทิฏฐิเป็นความผ่องใส
แห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ สัมมาวาจาเป็น
ความผ่องใสเเห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใสแห่งสมุฏฐาน
สัมมาอาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นความผ่องใส
แห่งความประคองไว้ สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิ
เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง
ความตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็น
ความผ่องใสแห่งความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง สัทธา-
พละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
วิริยพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน สติพละ
เป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความประมาท สมาธิพละเป็นความ
ผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นความผ่องใสแห่ง
ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความน้อมใจ
เชื่อ วิริยินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นความ
ผ่องใสแห่งการตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น อินทรีย์เป็นความผ่องใสเพราะอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ พละเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็น
ความผ่องใสเพราะอรรถว่านำออก มรรคเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็น
เหตุ สติปัฏฐานเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นความ

ผ่องใสเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าให้
สำเร็จ สมถะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นความ
ผ่องใสเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็นความผ่องใสเพราะ
อรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิ
เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะ
อรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นความ
ผ่องใสเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าปล่อยวาง
ขยญาณเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็น
ความผ่องใสเพราะอรรถว่าสงบระงับ ฉันทะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า
เป็นมูล มนสิการเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความ
ผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็น
ที่รวม สมาธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นความผ่องใส
เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่า
ธรรมนั้น วิมุตติเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอันหยั่งลง
สู่อมตะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ฉะนี้แล.
จบมัณฑเปยยกถา
จบภาณวาร
จบมหาวรรคที่ 1

อรรถกถามัณฑเปยยกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพิจารณาแห่งมัณฑเปยย-
กถา (ของใสที่ควรดื่มเทียบด้วยคุณธรรม) อันเป็นเบื้องต้นส่วนหนึ่งของ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่
มรรคนั้นเป็นธรรม ผ่องใสควรดื่ม ตรัสไว้แล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มณฺฑเปยฺยํ เป็นพรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม
ชื่อว่า มณฺโฑ ด้วยอรรถว่าผ่องใสเหมือนอย่างเนยใสที่สมบูรณ์ สะอาด ใส
ท่านเรียกว่า สัปปิมัณฑะ ความผ่องใสของเนยใส ฉะนั้น. ชื่อว่า เปยฺยํ
ด้วยอรรถว่า ควรดื่ม. ชนทั้งหลายดื่มของควรดื่มใดแล้วลงไปในระหว่างถนน
หมดความรู้ แม้ผ้านุ่งเป็นต้นของตนก็ไม่อยู่กับตัว ของควรดื่มนั้นแม้ใสก็
ไม่ควรดื่ม. ส่วนศาสนพรหมจรรย์ คือ ไตรสิกขานี้ของเรา ชื่อว่าใส เพราะ
สมบูรณ์ เพราะไม่มีมลทิน เพราะผ่องใส และชื่อว่าควรดื่ม เพราะนำ
ประโยชน์สุขมาให้ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่าเป็น
พรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม. ชื่อว่า มณฺฑเปยฺยํ เพราะมีความผ่องใสควรดื่ม.
นั้นคืออะไร. คือศาสนพรหมจรรย์. เพราะเหตุไรไตรสิกขาจึงชื่อว่าพรหมจรรย์.
นิพพานชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่าสูงสุด ไตรสิกขาเป็นความประพฤติ
เพื่อประโยชน์แก่ความสูงสุดเพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่นิพพาน เพราะเหตุ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นพรหมจรรย์ ศาสนพรหมจรรย์ก็คือ
ไตรสิกขานั้นนั่นเอง.
บทว่า สตฺถา สมฺมุขีภูโต พระศาสดามีอยู่เฉพาะหน้านี้ เป็นคำ
แสดงถึงเหตุในบทนี้. ก็เพราะพระศาสดามีอยู่เฉพาะหน้า ฉะนั้นท่านทั้งหลาย